ถือเป็นเกร็ดความรู้อย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้นะครับ เพราะว่า กระทั่งคนญี่ปุ่นเองบางคนก็ไม่ทราบเด้อจ้า^^
ปัจจุบันชื่อเดือนในภาษาญี่ปุ่นจะเป็นตัวเลขเรียงตั้งแต่ 一月 จนถึง 十二月 ตามที่เราเรียนกันมานั่นแหละเนอะ แต่รู้ไหมครับว่า แต่ก่อนเค้าก็มีชื่อเรียกเดือนแต่ละเดือนเหมือนกันนะ การเรียกชื่อเดือนในสมัยก่อน เค้าจะเรียกตามปฏิทินจันทรคติดั้งเดิม (旧暦 / 陰暦) นะครับ
มาเริ่มกันเลยดีกว่า^^
1. 睦月 (むつき; mutsuki)
เป็นเดือนที่สมาชิกในครอบครัวมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่
睦び月→睦月
2. 如月 (きさらぎ; kisaragi)
เป็นเดือนที่อากาศหนาวเย็น จึงต้องสวมเสื้อผ้า (衣更着) เพื่อความอบอุ่น
衣を更に着る→衣更着 (きさらぎ)→如月 (きさらぎ)
3. 弥生 (やよい; yayoi)
เป็นเดือนที่อากาศอบอุ่น พืชพันธุ์เจริญเติบโตได้ดี
木草弥や生ひ月 (きくさいやおひづき)→やよひ→やよい
4. 卯月 (うづき; utsuki)
เป็นเดือนที่ดอกอุโนะฮานะ (卯の花) เบ่งบาน
卯の花月→卯月
5. 皐月 (さつき; satsuki)
เป็นเดือนแห่งการทำนาหว่านข้าว
早苗月 (さなえづき)→早月→皐月
6. 水無月 (みなづき; minazuki)
คำว่า 水無月 (みなづき) เดือนที่ไม่มีน้ำ พ้องเสียงกับคำว่า 水月 (みなづき) เดือนที่มีน้ำ
เดือนนี้เป็นเดือนที่ต้องเอาน้ำออกจากแปลงข้าวที่หว่านไว้ เรียกว่า 水張月 (みずはりづき) และย่อเหลือเพียง 水月
水張月→水月→水の月→水無月
※ คำว่า 無 ความหมายเหมือน の
7. 文月 (ふみづき; fumizuki) มี 2 ตำนาน
ตำนานแรก เป็นเดือนที่ข้าวเจริญเติบโตรุ่งเรือง พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
ตำนานที่สอง เป็นเดือนที่เหมาะแก่การประพันธ์บทกวีอันเนื่องจากวันทานาบาตะ (วันที่ 7 เดือน 7)
穂含月 (ほふみづき)→文月
文披月 (ふみひらきづき)→文月
8. 葉月 (はづき; hazuki)
เป็นเดือนที่ใบไม้เปลี่ยนสีและร่วงหล่นลง
葉落ち月→葉月
9. 長月 (ながつき; nagatsuki)
เป็นเดือนที่มีช่วงเวลากลางคืนยาวนานกว่าปกติ
夜長月→長月
10. 神無月 (かんなづき; kannazuki)
เป็นเดือนที่เทพเจ้ามารวมตัวกันที่ศาลเจ้าอิซุโมะ (出雲大社) ส่งผลให้ทั่วทั้งประเทศไม่มีเทพเจ้าอยู่ในช่วงนี้
神様がいない→神無→神無月
11. 霜月 (しもつき; shimotsuki)
เป็นเดือนที่อากาศเริ่มหนาวและมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้น
霜降月→霜月
12. 師走 (しわす; shiwasu)
เป็นเดือนที่ใกล้เข้าสู่ช่วงปีใหม่ พระ (師) วิ่งกันวุ่นเพื่อเตรียมทำพิธีกรรมต่างๆ
Comentários